สนาม: ไชน่าเน็ต
บทนำ:แง่มุมนี้อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า ในต่างประเทศไม่ว่าบรามส์ หรือ ลิสต์ โชแปง ล้วนเขียนงานคลาสสิกโดยใช้จังหวะหรือทำนอง รูปแบบดนตรีประเทศตัวเอง อย่างโชแปง เอาเพลงแดนส์ ที่เป็นทำนองจากเพลงประจำชาติ มาทำให้กลายเป็นดนตรีคลาสสิก หลายคนได้สร้างงงานคลาสสิก โดยใช้เพลงประจำชาติมาใช้ จะเรียกว่าเป็นลัทธิชาตินิยมก็ได้ แม้กระทั่งดนตรีคลาสสิก อย่างไชคอฟสกี้ ก็มีผสมความปนรัสเซียเข้าไป หรือแม้แต่ จอร์จ กรัชวิน (George Gershwin) ที่เป็นนักแต่งเพลงคลาสสิกอเมริกัน ก็ผสมความเป็นเมริกัน หรือดนตรีแจ๊ส เข้าไปอยู่ในดนตรีคลาสสิกได้ แม้แต่ในเอเชีย ดนตรีที่แต่งโดยชาวญี่ปุ่น ทาเคมิสึ ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ก็ผสมความเป็นญี่ปุ่น เข้าไปอยู่ในดนตรีคลาสสิกของเขา หรืออย่าง ทันดุน ของจีนที่ดังมาก ก็สร้างงานคลาสสิกที่ผสมผสานความเป็นจีนเข้าไป แต่ละคนผสมประสบการณ์ของตัวเองเข้าไปด้วย รวมทั้งนักแต่งเพลงเกาหลี ก็อยู่ในแนวเดียวกัน ส่วนประเทศไทย ไม่ค่อยมีการเอาเพลงไทยมาทำดนตรีคลาสสิก แต่แนวที่เอาดนตรีไทยมาผสมกับดนตรีสากล มาพัฒนาดนตรีไทยมีการทำกัน และจะต่อไปจะทำกันมากขึ้น...
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-12